ยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
ปี พ.ศ. 2555 – 2559 สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์และกลยุทธ์การดำเนินงาน ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะพึงประสงค์ตามความต้องการของท้องถิ่น
เป้าประสงค์
1. มีหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นและศักยภาพของมหาวิทยาลัย
2. บัณฑิตมีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะชีวิตและสังคมตามความต้องการของท้องถิ่น
กลยุทธ์
1. พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการและความเปลี่ยนแปลงของสังคม
2. ผลิตบัณฑิตสาขาสาธารณสุขชุมชนตามความต้องการของท้องถิ่น
3. พัฒนาคุณภาพบัณฑิตสาธารณสุขตามคุณลักษณะและสมรรถนะหลักที่กำหนด
4. พัฒนาคุณภาพบัณฑิตด้านคุณธรรม จริยธรรม และส่งเสริมการการมีส่วนร่วมและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในท้องถิ่น
เป้าประสงค์
1. สาขาวิชาสามารถให้บริการวิชาการแก่ชุมชนโดยบูรณาการกับการเรียนการสอนตามหลักสูตรด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ระหว่างสาขาวิชากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน
2. สาขาวิชาสามารถยกระดับทักษะวิชาชีพสาธารณสุขของบุคลากรในสถานบริการสาธารณสุข
3. สาขาวิชาสามารถพัฒนาศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นให้พึ่งพาตนเองด้านการสาธารณสุขได้
กลยุทธ์
1. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขเพื่อการเข้าถึงของชุมชน
2. ส่งเสริมการจัดเวทีประชุมสัมมนาวิชาการด้านสาธารณสุข
3. ให้บริการวิชาการสาธารณสุขแก่ชุมชนที่หลากหลายโดยบูรณาการกับการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนางานวิจัย สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านสาธารณสุข
เป้าประสงค์
1. มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมสาธารณสุขที่ตอบสนองและแก้ปัญหาของท้องถิ่น
2. ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ
3. ผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมนำไปสู่การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุขตามบริบทของท้องถิ่น
2. ส่งเสริมงานวิจัยด้านสาธารณสุขเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ฟื้นฟูและส่งเสริมการนำศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสาธารณสุข
เป้าประสงค์
1. จัดระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสาธารณสุขของชุมชน
2. สาขาวิชาสามารถฟื้นฟูและส่งเสริมการนำศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสาธารณสุขมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย
3. สาขาวิชาสามารถพัฒนาศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสาธารณสุขที่หลากหลายและต่อยอดเพื่อสร้างองค์ความรู้ในชุมชน
กลยุทธ์
1. ศึกษา สำรวจและจัดทำระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสาธารณสุข
2. ฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสาธารณสุข
3. ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสาธารณสุข
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารจัดการสาขาวิชาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลและการจัดการความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง
เป้าประสงค์
1. สาขาวิชามีธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการและมีวัฒนธรรมคุณภาพ
2. สาขาวิชาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่รองรับการเปลี่ยนแปลง
3. สาขาวิชามีระบบสารสนเทศในการเรียนการสอนและการบริหารการตัดสินใจ
4. สาขาวิชามีภูมิทัศน์ที่เอื้อต่อคุณภาพการเรียนการสอนและคุณภาพบุคลากร
กลยุทธ์
1. พัฒนาบุคลากรและระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและงานวิชาการของสาขาวิชา
2. จัดหาครุภัณฑ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพและพอเพียง
3. พัฒนาอาคารสถานที่และภูมิทัศน์สนับสนุนการเรียนรู้
4. การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการสาขาวิชา